ธปท.เล็งเปิดให้บริการโครงสร้างพื้นฐานกลางครึ่งหลังปี65

ธปท.จับมือภาครัฐ และภาคธุรกิจ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินและการชำระเงินสำหรับภาคธุรกิจ ยกเคสต่างประเทศสามารถลดต้นทุนได้ 60-80%และรับเงินทันทีไม่ต้องรอเครดิตเทอม

นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน เปิดเผยว่า ธปท. และสมาคมธนาคารไทย กรมสรรพากร สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย สำนักงานระบบการชำระเงิน (PSO) บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด (NITMX) และภาคธุรกิจ อยู่ระหว่างพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินและการชำระเงินสำหรับภาคธุรกิจ หรือ โครงการ Smart Financial and Payment Infrastructure for Business (โครงการ) เพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจสามารถทำธุรกรรมการค้าเป็นดิจิทัลอย่างครบวงจร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ยกระดับการแข่งขันของภาคธุรกิจไทย

ปัจจุบันการทำธุรกรรมซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้ทางการค้าส่วนใหญ่ยังใช้เอกสารกระดาษในกระบวนการซื้อขายระหว่างภาคธุรกิจจำนวนมากซึ่งมีต้นทุนสูงและใช้เวลา โครงการนี้จะช่วยลดข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจแบบเดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนา

“ตัวอย่างจากต่างประเทศที่มีการใช้บริการนี้สามารถลดต้นทุน60-80%โดยรวมทั้งลดต้นทุน ลดขั้นตอน ลดเวลาในการดำเนินการโดนเฉพาะลดกระดาษ รวมถึงการรับชำระเงินทันทีไม่ต้องรอเครดิตเทอมเป็นรอบๆ”

 

โครงการในระยะแรกประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก คือ โครงสร้างพื้นฐานกลางที่ให้ผู้ใช้บริการส่งข้อมูลทางการซื้อขายสินค้า การชำระเงินและภาษี โดยในเบื้องต้นจะมี 3 บริการ คือ 1.บริการส่ง-รับใบแจ้งหนี้ทางดิจิทัล 2.บริการการชำระเงินพร้อมข้อมูลการค้าที่จะช่วยให้ภาคธุรกิจมีข้อมูลในการตรวจสอบกระทบยอดที่รวดเร็ว 3.บริการการชำระเงินที่เชื่อมโยงกับการออกใบเสร็จรับเงิน ทั้งนี้ ปัจจุบันระบบอยู่ในระหว่างการพัฒนาโดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในครึ่งหลังปี 2565

ส่วนที่สอง คือ บริการให้สินเชื่อ หรือ digital supply chain financing ที่จะช่วยสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและเสริมสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลที่จำเป็นของภาคธุรกิจที่ช่วยตรวจสอบ invoice รวมทั้งการให้สินเชื่อซ้ำซ้อน ช่วยลดเวลาในการพิจารณาให้สินเชื่อ ซึ่งจะเริ่มเปิดในบริการภายในเดือนธันวาคม 2564 นี้

ที่ผ่านมา ธปท. สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินและการชำระเงินดิจิทัล เพื่อเอื้อให้เกิดการใช้งานร่วมกันของผู้ประกอบการภาคการเงิน ภาคธุรกิจและภาครัฐ เช่น บริการพร้อมเพย์ที่มีการลงทะเบียนเพิ่มขึ้นเป็น 66.9 ล้านหมายเลข และมีการใช้งานสูงขึ้นต่อเนื่องมาโดยตลอดเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 29.5 ล้านรายการ คิดเป็นมูลค่า 94.1 พันล้านบาทต่อวัน

อ้างอิง
https://www.thansettakij.com/category/money_market