ตลาดหุ้นที่มีสัดส่วนนักลงทุนรายย่อยจำนวนมากการเก็งกำไร กระแสข่าว ข่าวลือ และสภาพการซื้อขายของราคาหุ้นนั้นที่ผิดปกติ ด้วยลักษณะของรายย่อยที่มีทั้งกลุ่มรายใหญ่ บล็อกเทรด เซียนหุ้น นักเทคนิค และเม่าตามกระแส ทำให้เกิดหุ้นที่มีความหวือหวาราคาสูงตามไปด้วย
สัดส่วนนักลงทุนรายย่อยเรียกได้ว่าฟื้นชีพในช่วงการระบาดโควิด -19 ปี 2563 -2564 ส่งผลทำให้ช่วงปี 2563 กลุ่มนักลงทุนรายย่อยเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นกลับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 60 % จากปี 2562 อยู่ที่ 33 % และเคยลดลงอย่างต่อเนื่องที่เคยขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 60 % ในปี 2557
ปี 2563 สัดส่วนรายย่อยยังคงที่ระดับสูง 60 % แต่จำนวนการบัญชีเพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจ จำนวนนักลงทุนเปิดบัญชีอยู่ที่ 2.15 ล้านราย โดยเป็นการเปิดบัญชี(ไม่รวมบัญชีชื่อซ้ำ) 1.50 ล้านราย ภาพรวมจำนวนนักลงทุนอยู่ที่ 3.51 ล้านบัญชี
ถือว่าเป็นการเปิดบัญชีใหม่ระดับล้านบัญชีต่อปีครั้งแรกจากที่ผ่านมาอยู่ระดับแสนบัญชีต่อปี ท่ามกลางมูลค่าการซื้อขายรวมทั้งตลาดแตะระดับเฉลี่ยแสนล้านบาทต่อวัน
ส่วนปี 2564 มีจำนวนลูกค้ามาเปิดบัญชีใหม่รวม 3.1 ล้านราย หากไม่นับรายชื่อซ้ำ ตัวเลขอยู่ที่ 2.16 ล้านราย คิดเป็นบัญชีทีมีการเปิดรวมทั้งสิ้นตลอดที่งปีที่ 5.22 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ถึง 1.71 ล้านบัญชี หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 50 %
ดังนั้นการ “เก็งกำไรหุ้นรายตัว “ “เข้าเร็วออกเร็ว” “ใครลุกที่หลังจ่ายรอบวง” เกิดกับหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็กอย่างคึกคัก ซึ่งมีแผนนำธุรกิจเกิดการเปลี่ยนแปลงไปยังธุรกิจใหม่อย่าง New S Curve เรียกความสนใจจนเกิดปรากฏการณ์เปิดตัวเข้าสู่ธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัลตั้งแต่เหมืองขุด จนไปถึงการเป็นตัวกลางซื้อขายแพลตฟอร์ตดิจิทัล และเข้าไปลงทุนในคริปโตเคอเรนซี่ยอดนิยม “บิทคอยน์”
จนทำให้มาตรการกำกับซื้อขายที่มีไม่เพียงพอเพราะเกิดการแห่เก็งกำไรในหุ้นที่เข้ากำกับซื้อขายแทบทันที และปี 2564 มีจำนวนหุ้นที่เข้าเกณฑ์กำกับซื้อขายมากสุดครั้งเดียวถึง 31 บริษัท ในช่วงเดือนมี.ค. 2564 จนทำให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ต้องออกมาปรับเกณฑ์ชุดใหม่ที่เข้มข้นและแรงกว่าเดิม
บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส ประเมินผลลัพธ์ หลังตลท. ยกระดับมาตการกำกับการซื้อขาย เริ่ม 4 เม.ย. 2565 ในภาวะที่สภาพคล่องส่วนเกินล้นระบบ ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ กองทุน LTF ถูก ยกเลิก ทำให้ผู้คนมองหาการ Search For Yield และหันมาลงทุนในตลาดหุ้นเองมากขึ้น
โดยปี 2564 มีคนเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นสูงถึง 1.7 ล้านบัญชี (เพิ่มขึ้น 48%) หนุน ปริมาณการซื้อขายสูงกว่าปกติ โดยเฉพาะหุ้นขนาดเล็กได้รับความสนใจมากเป็น พิเศษ อย่าง ตลาด MAI มีการซื้อขายบ่อยขึ้นจน Turnover ทั้งปีสูงถึง 3.68 เท่า (เพิ่มขึ้น 168%) ผลักดันดัชนี MAI ปรับตัวขึ้นมาถึง 73.1% และมี P/E สูงถึง 58 เท่า
มีหุ้นหลายบริษัท ที่มีการปรับตัวขึ้นมาเร็ว มีมูลค่าซื้อขายสูงผิดปกติ โดยที่พื้นฐาน ไม่ได้รองรับ สะท้อนได้จากหุ้นที่ติด Cash Balance ณ ปัจจุบัน 16 บริษัท
1. ปริมาณซื้อขายสูงผิดปกติสะท้อนได้จากหุ้นดังกล่าวโดยมีหุ้นที่มีการซื้อขายหมุนเวียน ( Turnover ) ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันสูงผิดปกติเฉลี่ยอยู่ที่ 137.9% ขณะที่Turnover (ytd) ของSET เพียง 25.5% 2. ราคาปรับตัวขึ้นมาเร็ว สะท้อนได้จากหุ้นดังกล่าวมีผลตอบแทนเฉลี่ย ytd 28.2% ขณะที่ผลตอบแทนเฉลี่ย ytd ของ SET 1.2%
3. ไม่สอดคล้องกับพื้นฐาน สะท้อนได้จากหุ้นดังกล่าวมีค่า P/E เฉลี่ย 65 เท่า และขาดทุนถึง 7 บริษัท ขณะที่ P/E ของ SET 19.4 เท่า ปัจจุบันทางตลาดฯ จึงได้เพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแลในหุ้นที่ติด T1, T2, T3 ให้ เข้มงวดขึ้น เริ่มตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย. 2565 เป็นต้นไป เพื่อลดความเสี่ยงกับนักลงทุน ดัง ตารางทางด้านล่าง
ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่าการปรับมาตการครั้งนี้มุ่งเน้นช่วยลดความร้อนแรงของหุ้นที่ มีความเคลื่อนไหวผิดปกติลง และเป็นการสกัดกั้นการทำราคา ถือเป็นการลด ความเสี่ยงให้กับนักลงทุน พร้อมกับหนุนให้นักลงทุนหันมาโฟกัสที่ Valuation มากขึ้น ส่วนหุ้นที่ติด Cash Balance ณ ปัจจุบัน ถือเป็น Sentiment ลบ เพิ่มเติม และน่าจะถูกผลักดันราคาได้ยากขึ้น โดยเฉพาะนับตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย. 2565
อ้างอิง
https://www.bangkokbiznews.com/business